top of page
  • Writer's pictureTanasit J.

เทคนิคการจัดการสต๊อกสินค้า ตามสถานะของสต๊อก 6 แบบ

Updated: May 1, 2021

มีหลาย SME ที่กำลังเผชิญหน้าสถานการณ์เหล่านี้พร้อมๆกัน สินค้าขายดีก็ขายดีมากจนของขาด ส่วนสินค้าที่ขายไม่ออกก็ขายไม่ออกอยู่อย่างนั้นแหละ หรือ อาจมีกระทั่งคาดการณ์ผิดจนสินค้าเริ่มล้นสต๊อก



เนื่องจากสินค้าแต่ละ SKU มีรูปแบบการขาย ความเร็วในการขาย ปริมาณการสั่งซื้อแต่ละครั้ง และ ปริมาณคงคลังที่แตกต่างกัน จึงทำให้ สินค้าเหล่านั้น ต้องการวิธีการดูแลที่แตกต่างกัน ทางเรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะแนะนำให้รู้จัก สถานะของสต๊อก 6 แบบเพื่อให้คุณบริหารจัดการสินค้าคงคลังของคุณได้ดีขึ้น


บทความนี้ นอกจากเราจะ มาทำความรู้จักกับ สต็อกสินค้าทั้ง 6 แบบกันแล้ว เรายังจะบอกด้วยว่า ทำไมSME ควรให้ความสำคัญกับ สต๊อกสินค้ารูปแบบที่เป็น สินค้าที่จะไม่ขายต่อในอนาคต (Delete Stocks) มากที่สุดเป็นอันดับแรกอีกด้วย


แต่ก่อนที่จะไปต่อกัน เราแนะนำให้อ่านบทความเรื่อง SLT ก่อน เพื่อให้เข้าใจบทความนี้ได้มากยิ่งขึ้น


1. สินค้าพอเพียง (Stocks Ok)

สินค้าพอเพียง ไม่ได้นับจากจำนวนว่ามี 10 หรือ 1,000 ชิ้น จะมีมากหรือน้อยนั้นไม่สำคัญ มากเท่ากับสินค้าชนิดนี้มีมากเพียงพอต่อการขาย 2-3 เดือนหรือไม่ เหตุผลที่เราใช้ 2-3 เดือน หรือ 60-90 วันเป็นตัวกำหนดขั้นต้นง่ายๆนั้น ก็เพราะว่า ช่วงเวลานี้มักเป็นช่วงเวลาที่พอดีให้SME ทำการสั่งของเข้ามา ผลิต และ หมุนสินค้าออกไปได้พอดีไม่ขาดตอน


ตัวอย่าง:

  • สินค้า A มีทั้งหมด 1,000 ชิ้นในคลัง

  • สินค้า A มียอดขาย 100 ชิ้นต่อสัปดาห์

→ หมายความว่า สินค้า A นี้สามารถขายได้ถึง 10 สัปดาห์ หรือ 2 เดือน

→ เราจึงนิยามสินค้าชนิดนี้ว่า สินค้าพอเพียง หรือ Stocks Ok นั่นเอง


สินค้าในกลุ่มนี้ SMEควรสังเกตการณ์อย่างน้อยทุกๆสัปดาห์ เพื่อไม่ให้มีปริมาณมากจนเกินความจำเป็นจนกลายเป็น Over stocks ที่เรากำลัง หรือ น้อยจนขาดแคลน อย่างที่เราจะอธิบายในข้อต่อๆไป



2. สินค้ามีมากเกินความจำเป็น (Over Stocks)

ตามชื่อเลยก็คือ มีมากเกินกว่าปริมาณในการขายมากกว่า 3 เดือนนั่นเอง ซึ่งเรามองว่ามากเกินจำเป็น ทำให้มีความเสี่ยงที่เงินจะมาจมในสินค้า หรือ ในระหว่างนี้อาจจมีการเปลี่ยนเเปลงของเทรนด์ในตลาดทำให้ความต้องการของสินค้าชนิดนี้ลดลง


ตัวอย่าง:

  • สินค้า A มีทั้งหมด 1,000 ชิ้นในคลัง

  • สินค้า A มียอดขายลดลงเหลือ 50 ชิ้นต่อสัปดาห์

→ หมายความว่า สินค้า A นี้สามารถขายได้ถึง 20 สัปดาห์ หรือ 5 เดือนเลยนั่นเอง

→ ซึ่งมีปริมาณมากเกินความจำเป็น ในกรณีนี้เราจะเปลี่ยนstatusของสินค้า A จาก สินค้าพอเพียง (Stocks Ok) เป็น สินค้ามีมากเกินความจำเป็น (Over Stocks)


หากSME ถือสต็อกสินค้าที่เป็น Over stocks มากๆ จะส่งผลถึงปริมาณเงินสดของSME ที่ถูกเปลี่ยนไปเป็นจำนวนสินค้าที่มากเกินความจำเป็น คำถามคือ ทำไมเราไม่ซื้อมาแค่ 500 ชิ้น หรือ 10 สัปดาห์ (70 วัน) แล้วนำเงินส่วนต่างไปซื้อสินค้า หรือ ลงทุนในเรื่องอื่นแทนจะดีกว่าไหม ?



3. สินค้ากำลังจะไม่เพียงพอต่อการขาย (Low Stocks)

ตรงกันข้ามกับ สินค้ามีมากเกินความจำเป็น (Over Stocks) Low Stocks หมายถึงว่า เรากำลังถือสต๊อกสินค้าน้อยเกินไปเทียบกับยอดขาย เสี่ยงต่อสินค้ามีไม่เพียงพอ และ จำเป็นที่จะต้องรีบนำสต๊อกสินค้าเข้ามาเติมได้แล้ว ถ้าหากเราวางแผนว่าจะขายสินค้านี้ต่อนั่น


ตัวอย่าง

  • สินค้า A มีทั้งหมด 200 ชิ้นในคลัง

  • สินค้า A มียอดขาย 100 ชิ้นต่อสัปดาห์

→ สินค้า A นี้สามารถขายได้อีกเพียงแค่ 2 สัปดาห์เอง

→ ถ้าหากว่า ช่วงเวลาในการใช้สั่งผลิตสินค้านี้อยู่ที่ 5 สัปดาห์ หมายความว่า สินค้ามีความเสี่ยงจะไม่เพียงพอต่อยอดขาย เราจึงเปลี่ยนสถานะสินค้านี้เป็น Low Stocks


SMEควรสังเกตการณ์ภาพรวมสต๊อกสินค้าควบคู่ไปกับยอดขายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะลดเหตุการณ์สินค้าขาดตลาดลง อย่างเช่นในตัวอย่างข้างต้น ที่สินค้าเราอาจจะไม่เพียงพอต่อการขาย และ เสียโอกาสในการขายไปถึง 3 สัปดาห์เลยทีเดียวในกรณีนี้

4. สินค้าขาดแคลน (Stocks in Shortage)

รูปแบบสต๊อกนี้เป็นอันที่เราไม่อยากให้เกิดมากที่สุด เป็นผลต่อเนื่องหากเราไม่สามารถจัดการกับ Low Stock ได้อย่างทันท่วงที ทำให้ไม่มีสินค้านั้นอยู่ในคลังเลย แต่ยังมีลูกค้าต้องการสินค้าชนิดนี้อยู่


เหตุการณ์นี้อาจส่งผลให้ลูกค้าเปลี่ยนใจไปซื้อสินค้าจากแบรนด์อื่น และ/หรือ ไม่กลับมาซื้อสินค้าจากแบรนด์ของเราอีกเลย เนื่องจากมองว่า เราไม่มีสินค้าที่ตอบสนองต่อลูกค้าในเวลาที่ต้องการนั่นเอง สิ่งที่SME พอจะทำได้ เมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น คือ ต้องมีวิธีการสื่อสารที่ชัดเจนต่อลูกค้า และทางออกให้กับลูกค้า อย่างชัดเจน และยุติธรรมต่อลูกค้าทุกคน


5. สินค้าที่ไม่เกิดการขายเลย (Dead Stocks)

คำนี้เป็นคำศัพท์ที่SMEหลายเจ้าคุ้นเคย สินค้าที่เป็น Dead stocks ในนิยามของ MuchRoom คือ สินค้าที่ไม่เกิดการขายเลย แม้แต่ 1 ชิ้น ในช่วงเวลา 2 เดือน หรือ 60 วัน ที่ผ่านมา ถ้าหากว่าSME ยังไม่เคยวิเคราะห์ว่ามีสินค้าชนิดนี้อยู่หรือไม่ ทางเราแนะนำให้ลองวิเคราะห์ภาพสินค้าที่ไม่เกิดการขายเลย (Dead stocks) ออกมาเป็นสัดส่วนต่อสต๊อกทั้งหมดดู


ตัวอย่าง

  • SME มีสินค้าคงคลังอยู่ทั้งหมด 10,000 ชิ้น

  • มีสินค้าที่ไม่เกิดการขายเลย ในช่วงเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา อยู่ 1,000 ชิ้น

→ สินค้า1,000 ชิ้นนี้จึงมาสถานะเป็น Dead stocks

Dead stock เท่ากับ 10% ของสต๊อกสินค้าทั้งหมด ทางMuchRoom มองว่าสถาณการณ์เริ่มส่งผลร้ายต่อSMEแล้ว เพราะเงินสดของSME นั้นจมอยู่กับสินค้าที่ไม่เกิดการขายเลยอยู่ถึง10%


ทางออกง่ายๆที่ทาง MuchRoom แนะนำในการจัดการDead Stocks คือ เพิ่มช่องทางการขายให้และการมองเห็นให้กับสินค้ากลุ่มนั้น เพื่อเปลี่ยนสต๊อกสินค้าเหล่านั้น กลับมาเป็นเงินสดให้กับSME ของคุณ


6. สินค้าที่จะไม่ขายต่อในอนาคต (Delete Stocks)

คือ สต๊อกของสินค้าที่SME วางแผนว่าจะไม่ขายต่อไปอีกแล้วในอนาคต อันเนื่องมาจาก มีสินค้าใหม่จะมาวางขายแทนสินค้าชนิดนี้ สินค้าชนิดนี้ขายไม่ดีเลยไม่อยากขายอีกต่อไปแล้ว หรือเหตุอื่นๆ SMEควรระบุว่า สินค้าชนิดไหนที่วางแผนว่าจะไม่ขายต่อในอนาคตก่อน แล้วจึงค่อยหาปริมาณและสัดส่วนของสินค้ากลุ่มที่เป็น Delete Stocks นี้ เทียบกับสินค้าคงคลังทั้งหมด เหมือนกันกับ Dead Stock


ตัวอย่าง

  • SME มีสินค้าคงคลังอยู่ทั้งหมด 10,000 ชิ้น

  • มีสินค้าที่จะไม่ขายเเล้วอยู่เนื่องจากจะออก collectionใหม่ 2,000 ชิ้น

→ สินค้า2,000 ชิ้นนี้จึงมาสถานะเป็น Delete stocks

Delete stock เท่ากับ 20% ของสต๊อกสินค้าทั้งหมด


จากรูปแบบของสต๊อกสินค้าทั้งหมดนั้น MuchRoomอยากให้SME ให้ความสำคัญกับDelete Stocks เป็นอันดับที่ 1 Delete Stocks อันตรายมากกว่า Dead stocksเสียอีก เนื่องจากหากไม่สามารถกำจัดDelete Stocksออกไปได้ก่อนสินค้าใหม่เข้ามาทดแทนนั้น จะส่งผลให้สินค้าใหม่ ไม่สามารถแสดงศักยภาพการขายออกมาได้อย่างเต็มที่ แถมทำให้ สินค้าที่เป็น Delete Stocks ไม่หมดออกไปจากคลังของเราสักที ทั้งๆที่SME วางแผนว่าจะไม่ขายสินค้านี้อีกต่อไปแล้ว และถ้าปล่อยให้เกิดเหตุการนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้สต๊อกสินค้าของSMEบวมมากขึ้นๆเรื่อย ไม่มีวันลดลง จนอาจเกิดเหตุที่ทำให้ขาดสภาพคล่อง เนื่องจากเงินสดไปจมอยู่กับสต๊อกสินค้าหมดแล้ว

อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่สต๊อกรูปแบบ ให้ทุกSMEควรใส่ใจกับสต๊อกในทุกสถานะ เนื่องจากแต่ละนั้นต้องการวิธีการดูแลแตกต่างกัน และ สถานะของสินค้าแต่ละ SKU อาจเปลี่ยงเเปลงไปได้ตามกาลเวลา สินค้าที่ขายดีวันนี้ อาจกลายเป็นสินค้าที่ขายไม่ออกจนเป็น deadstock ในอนาคต หรือ สินค้าที่เคยมีจำนวนมากเกินไปจน overstock อาจจะกลายเป็น low stock ก็ได้ ดังนั้นเราจึงอยากให้SMEสังเกตการณ์ภาพรวมสต๊อกสินค้าควบคู่ไปกับยอดขายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้ ปรับกลยุทธ์การจัดการสต๊อกได้อย่างทันท่วงที

 

หากคุณสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวหัวข้อนี้ และ การวางรากฐานให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างเป็นระบบ

ติดต่อได้ที่

- ☎️ Tel: 082-221-3441

- 📧 email: muchroom.consultancy@gmail.com


bottom of page